นายอนันต์ ดาโลดม

ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 16 พ.ศ.2558-2561 การศึกษา : ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ระดับปริญญาโท Master of Sceine สาขา Extension Education มหาวิทยาลัย Louisiana State University ประเทศสหรัฐอเมริกา : ระดับปริญญาเอก ดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ประกาศนียบัตร หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 35 : อบรมหลักสูตร Director Accreditation Program Class...

Read More

ดร.ยุกติ สาริกะภูติ

ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 1 พ.ศ.2522-2524 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 8 พ.ศ.2536-2539 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 9 พ.ศ.2539-2542 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 10 พ.ศ.2542-2544 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 11 พ.ศ.2544-2547 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 12 พ.ศ.2547-2551 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 13 พ.ศ.2551-2553 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 14 พ.ศ.2553-2555 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 15 พ.ศ.2555-2558 ดร. ยุกติ  สาริกะภูติ  ...

Read More

นายพิสิษฐ์ ศศิผลิน

ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 5 พ.ศ.2530-2533 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 6 พ.ศ.2533-2535 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 7 พ.ศ.2535-2536 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญากสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาบัตรเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ นอกจากนี้ได้รับปริญญาบัตรสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสมบูรณ์จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 22 เริ่มรับราชการครั้งแรกวันที่ 1 ตุลาคม 2494 ในตำแหน่งนักเกษตรตรี แผนกสัตว์ใหญ่ กองสัตวบาล กรมเกษตร โอนมารับราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2516 ได้นำเอาหลักการทางการเกษตร ภาวะเศรษฐกิจและสังคมมาใช้ประกอบการบริหาร เป็นผู้นำระบบการแบ่งเขตทำการเกษตรเป็นเขตเกษตรก้าวหน้า ปานกลาง และเขตเกษตรล้าหลัง แบ่งเกษตรกรออกเป็นเกษตรกรก้าวหน้า เกษตรกรระดับกลางและเกษตรกรผู้ยากจน ทำให้งานส่งเสริมการเกษตรสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศและตัวเกษตรกร...

Read More

นายจำลอง โต๊ะทอง

ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 3 พ.ศ.2526 ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 4 พ.ศ.2527-2529 เป็นผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2519-2532

Read More

ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก

ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ชุดที่ 2 พ.ศ.2524-2526 ศาสตราจารย์ ระพี  สาคริก  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก  โดยท่านเริ่มศึกษาวิจัยค้นคว้ากล้วยไม้ด้วยตนเองตั้งแต่สมัยเริ่มรับราชการใหม่ ๆ  ที่สถานีทดลองกสิกรรมแม่โจ้   จังหวัดเชียงใหม่  จนกล้วยไม้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของท่าน  ท่านได้อุทิศแรงกายแรงใจ กำลังสติปัญญาวิจัยเกี่ยวกับกล้วยไม้ตลอดมา จนเป็นที่ยอมรับจากวงการกล้วยไม้ของโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้มากที่สุดท่านหนึ่ง ผลงานการค้นคว้าวิจัย ส่งเสริมกล้วยไม้ในด้านต่าง ๆ ของศาสตราจารย์ระพี  สาคริก  ทั้งการปรับปรุงพันธุ์  ขยายพันธุ์  และการส่งออกกล้วยไม้  ทำให้กล้วยไม้ไทยกลายเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท ศาสตราจารย์  ระพี  สาคริก  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา  สาขาเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511  และโปรดเกล้าฯ...

Read More

ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดอย่างน่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทย ขณะเดียวกันผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้หลายชนิดก็เข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว สิ่งที่ตามมาคือ การกระจายผลผลิตเหล่านั้นไปตามจังหวัดต่าง ๆ เกิดปัญหาการขนส่งไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ ตลาดบางแห่งปิด หรือ ลูกค้าขาประจำของตลาดขาดหายไปจำนวนไม่น้อยเพราะมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ชาวสวนได้รับความเดือดร้อนไปตาม ๆ กัน รวมทั้งชาวสวนลิ้นจี่ สมุทรสงคราม ซึ่งปีนี้ผลผลิตออกมาจำนวนมาก หลังจากที่ลิ้นจี่สมุทรสงครามไม่ให้ผลผลิตมา 2-3 ปี ชาวสวนผลไม้หลายชนิด รวมทั้งชาวสวนลิ้นจี่ พยามยามดิ้นรนหาตลาดเพื่อขายผลผลิต รวมทั้งตลาดออนไลน์ ทั้งไลน์ และเฟสบุค รับคำสั่งซื้อจากผู้สนใจ จัดส่งสินค้าถึงบ้าน ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าให้บริการไม่ทัน จนต้องประกาศงดรับบริการขนส่งสินค้าที่เป็นผลไม้สดกันเลยทีเดียว เห็นภาพลิ้นจี่พันธุ์ค่อม สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดสมุทรสงคราม...

Read More

เกษตรกรรุ่นใหม่กับการปลูกเมล่อนแบบมืออาชีพ

มูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และฟ้าประทานฟาร์ม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีความประสงค์ที่จะสร้างเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้โครงการ New Gen Farmer โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน อายุระหว่าง 15 – 30 ปี ที่มีความประพฤติดี และมีความรักอาชีพการเกษตร มารับการฝึกอบรมโดยเน้นภาคปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ผู้ที่สนใจและมีความประสงค์จะเข้ามาสู่อาชีพการเกษตร สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการเริ่มต้นอาชีพการเกษตรต่อไปได้ ดร.อนันต์  ดาโลดม  นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาฟ้าประทานฟาร์ม ได้ทำการคัดเลือกเยาวชนอายุระหว่าง 15 – 30  ปี ไม่จำกัดเพศ  สถานภาพโสด ไม่อยู่ระหว่างการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาใด ๆ ที่สำคัญคือ อยู่ในครอบครัวเกษตรกร เป็นผู้ที่รักในอาชีพการเกษตร...

Read More

ส้มโอทับทิมสยาม

เมื่อปีพ.ศ. 2523 นายสมหวัง มัสแหละ เกษตรกร ในชุมชนบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำต้นพันธุ์ส้มโอพื้นเมืองที่เรียกกันว่า “ส้มสีชมพู” จากอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีผลใหญ่ กุ้งสีชมพูเข้ม แต่มีรสขม มาทดลองปลูกในพื้นที่บ้านแสงวิมาน ปรากฏว่าผลผลิตส้มโอที่ได้มีรสชาติหวานแต่ยังมีรสขมอยู่บ้าง จึงตั้งชื่อใหม่ว่า “พันธุ์มรกต” เนื่องจากมีผิวสีเขียวเข้ม และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดูแลรักษา จนได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้นมาก กล่าวคือ มีเนื้อกุ้งสีชมพูเข้มคล้ายทับทิมจนถึงสีแดง ผลโต ผิวเปลือกสีเขียวสดนิ่มเหมือนกำมะหยี่ และรสชาติหวานหอม คนในหมู่บ้านจึงตกลงกันตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “พันธุ์ทับทิมสยาม” จากการสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่แหล่งปลูกสำคัญของสัมโอพันธุ์ทับทิมสยามในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน ตำบลคลองน้อย ตำบลเกาะทวด และ ตำบลคลองกระบือ อำเภอปากพนัง...

Read More

มูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2143/1 กรมส่งเสริมการเกษตร (ชั้น 3)
ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900

Contact

Tel. 091-120-4757

Follow Us

Subscribe

Enter your email and we’ll send you latest information and plans.